ชุดคิตวงจร

เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเพื่อนสมาชิกที่ไม่ใช่ช่างอิเล็กทรอนิกส์ แต่สนใจอยากลองประกอบดู เราได้จัดอุปกรณ์ไว้เป็นชุดคิต เพื่อให้ท่านเอาไปประกอบเองครับ (สนใจกรุณาสอบถามไปที่ e27ek@hotmail.com,081-5756425)

* 14 MHz เป็นความถี่ที่มีเพื่อนนักวิทยุสมัครใช้งานกันมาก สามารถใช้ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เราจึงแนะนำให้ใช้ความถี่นี้สำหรับผู้เริ่มต้น *

การประกอบเราควรแยกประกอบทีละส่วน เพื่อให้ง่ายต่อการทดสอบ สำหรับมือใหม่ ขั้นแรกให้ประกอบภาคขยายเสียง โดยวางอุปกรณ์ดังรูป



สีของตัวต้านทาน
  • 100 K น้ำตาล ดำ เหลือง ทอง
  • 10 โอห์ม น้ำตาล ดำ ดำ ทอง
  • 2 K แดง ดำ แดง ทอง (ตัวล่างสุดในรูป ลืมเขียนไว้ในรูปครับ)
 คาปาซิเตอร์ ค่า 0.1 uF ข้างตัวเขียนว่า 104
    ทดสอบวงจรขยายเสียง









    สร้างวงจร Pre amp



    สีของตัวต้านทานสำหรับวงจร preamp
    • 100 โอห์ม น้ำตาล ดำ น้ำตาล

    ประกอบภาครับ
    ใส่อุปกรณ์ตามรูป 

    คาปาซิเตอร์
    0.1 uF = 104 ใช้แบบเซรามิคธรรมดา
    8 pF = 8 ใช้แบบเซรามิคธรรมดา
    68pF = 68 ควรใช้แบบ NP0
    33 pF = 33 ควรใช้แบบ NP0
    200pF = 201 ควรใช้แบบ NP0

    ขดลวด 
    0.22 uH = แดง แดง ทอง เงิน
    0.022 uH = แดง แดง เงิน เงิน
    ขดลวดแกนสีเหลืองในรูป พันให้ได้ค่าประมาณ 0.7-0.9 uH (สำหรับ 14 MHz) สามารถปรับ ค่าได้โดยการขยับ ขดลวดให้ชิด หรือขยาย







     หลังจากประกอบอุปกรณ์ทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ให้นำเครื่องรับวิทยุอีกเครื่อง (ถ้าเป็นเครื่อง HF แบบในตัวอย่างให้ปรับไปที่โหมด CW) ตั้งความถี่ไปที่ความถี่ต้องการจะรับ ตัวอย่าง ตั้งความถี่ไว้กลาง ๆ ที่ 14.300 เพื่อให้ตัวเลขมันดูง่าย สิ่งที่สำคัญของวงจรเครื่องรับคือ ให้ทดลองเปิดรับสัญญาณแบบนี้ดูสักพัก ถ้าวงจรขาดเสถียรภาพ ความถี่จะเปลี่ยนแปลงไปมาก หลาย KHz (ในระยะเวลา 2-3 นาที) แต่ถ้าวงจรมีคุณภาพ จะไม่เปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนน้อยมาก สามารถยอมรับได้


    เทคนิคและข้อสังเกต
     
    เลือกใช้ คาปาซิเตอร์แบบ NP0 ในวงจรที่เกี่ยวข้องกับการกำเนิดความถี่เพื่อลดอาการ frequency drift หรือ การเปลี่ยนแปลงความถี่ ตามอุณหภูมิ แต่ถึงอย่างไร อุณภูมิก็ยังมีผลต่อแกนเทอร์รอย อุณภฺมิเปลี่ยนแปลงทำให้ค่าความเป็นแกน เปลี่ยนแปลงไปตาม ค่าความเหนี่ยวนำก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย



    ถ้าต้องการใช้กับแหล่งจ่ายไฟ 9 โวลต์ ให้เปลี่ยน IC เบอร์ 78L08 เป็น 78L05 แทน

    วงจรกรองสัญญาณภาครับ ในส่วนที่ต่อกับขา 1และ 2 ของ IC เบอร์ NE602 เป็นวงจรกรองแบบง่าย ๆ มีความสามารถกรองได้ดีพอสมควร แต่กรณีที่อยู่ใกล้กับสัญญาณรบกวน เช่นอยู่ใกล้สถานีวิทยุกระจายเสียง เราอาจจะเสริมวงจรกรองเข้าไปอีกชั้น  เพื่อเพิ่มคุณภาพให้กับเครื่องรับ

    ถ้าต้องการเพิ่มความกว้างของแบนด์ หรือต้องการทำให้รับได้กว้างขึ้น
    • ลองเปลี่ยนเบอร์ของไดโอด ในส่วนของภาครับ แต่ละเบอร์จะมีค่า C ไม่เท่ากัน (เพิ่มได้เล็กน้อย)
    • ลองเปลี่ยน ขนาดขดลวดหรือแกนทอรอยดู จะเพิ่มแบนด์ได้เล็กน้อย 
    • เปลี่ยนไฟจูนจาก 8 โวลต์ เป็นเท่ากับ แรงดันของแหล่งจ่ายไฟ สามารถเพิ่มได้มากพอสมควร แต่ความถี่อาจจะไม่นิ่ง นึ้นอยู่กับแรงดันภาคจ่ายไฟ 
    • แบนด์กว้าง มีข้อดีคือรับสัญญาณได้ครอบคลุมมากขึ้น แต่มีข้อเสียคือ จะจูนความถี่ยากขึ้น อันนี้แล้วแต่ความต้องการของแต่ละคนครับ









     


      ทดลองรับสัญญาณ












      วงจรฉบับเต็ม โหลดที่นี่ http://goo.gl/ksCMo


      เปลี่ยนความถี่รับเป็นแบนด์อื่น ๆ

      ความถี่ 21 MHz


      47 pF = 47 ใช้แบบ NP0
      33 pF= 33 ใช้แบบ NP0
      180pF = 181 ใช้แบบ NP0
      0.1uH = น้ำตาล ดำ เงิน เงิน
      1uH = น้ำตาล ดำ ทอง
      L1 ค่าประมาณ 0.4-0.6 uH สามารถปรับได้



      วงจรที่แก้ไขใหม่